อำเภอธาตุพนม อำเภอพระธาตุพนมเดิมมีชื่อว่า ภูกำพร้า มีศิลปวัฒนธรรมของตนเองอาณาเขตติดต่อประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครพนม
อำเภอเรณูนคร เรณูนครเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำผู้ไทย
อำเภอนาแก อำเภอนาแกเดิมชื่อ “เมืองกบิล” ซึ่งถูกข้าศึกรุกรานและกวาดต้อนราษฎรจนหมดสิ้น กลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาถึงมีชนกลุ่มหนึ่ง อพยพมาจากประเทศลาว มีนายเพีย ตาดูด เป็นหัวหน้า
อำเภอปลาปาก สถานที่ตั้งรกรากของปลาปาก นับว่าเป็นชนเผ่าที่น่าสนใจมิใช่น้อยเลยที่เดียว ความเป็นมาของบรรพบุรุษของชาวปลาปาก เดิมมีถิ่นที่อยู่ในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เมืองมหาชัย ในยุคสมัยเมืองพระยากู่แก้วเป็นเจ้าเมือง
อำเภอท่าอุเทน ชาวเมืองท่าอุเทน เดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองหงสาวดี แขวงไชยบุรี ดินแดนลาว ในปัจจุบัน พ.ศ.2531 หัวหน้าชาวไทญ้อ ชื่อ ท้าวหม้อและภรรยาชื่อ นางสุนันทา ได้รวบรวม ผู้คนมาสร้างเมืองใหม่
อำเภอศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จ.นครพนม แยกการปกครองจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๘ ขณะนั้นใช้ชื่อ "กิ่งอำเภออากาศอำนวย"
อำเภอบ้านแพง ตามประวัติเล่าว่าเมื่อประมาณ 200 ปีเศษ มีชนเผ่าย้อชื่อเฒ่าจอมและเฒ่างึ้มอพยพมาจากเมืองปุงลิง (เขตเมืองท่าแขก พระราชอาณาจักรลาว) ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน
อำเภอนาหว้า อำเภอนาหว้าประกอบด้วยชนเผ่า 5 เผ่า ได้แก่ ผู้ไท แสก ญ้อ กะเลิง และไทยอิสาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป้นเผ่าญ้อที่อพยพมาจากตอนเหนือของเมืองหลวงพระบาง ส.ป.ป. ลาว เมื่อประมาณปี พ.ศ.2112
อำเภอโพนสวรรค์ เมื่อประมาณ 100 ปี มีชนกลุ่มหนึ่งเรียกตัวเองว่า "ชาวม้า" อพยพมาจาก อ.ท่าอุเทน มาทำมาหากินบริเวณลำนำอีเพิม เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "หมู่บ้านอีเพิม"
อำเภอนาทม ตำบลนาทมตั้งขึ้นราวปี พ.ศ.2310 ครอบครัวที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกมี 3 - 4 ครอบครัว เท่าที่ทราบคือครอบครัวขุนศรี(ตะกูลศรีนาทม) และครอบครัวยายหืด (ตระกูลวงษาศรี)
อำเภอวังยาง อำเภอวังยาง เดิมเป็นกิ่งอำเภอวังยาง โดยแยกเขตการปกครองออกจากอำเภอนาแก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 46ก |
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น