วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

มหาวิทยาลัยนครพนม

มหาวิทยาลัยนครพนม 103 หมู่ 3 ถนนชยางกูร ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000
โทรศัพท์ 0-4253-2477-8  โทรสาร 0-4253-2479
E-mail: pr_npu@npu.ac.th


ลานจันทร์ส่องหล้า ล้านกันเกรา นครพนม

ที่บริเวณริมเขื่อนหน้าวัดโอกาส จะมีลานออกกำลังกาย ชื่อลานจันทร์ส่องหล้า   และด้านหน้าตลาดอินโดจีน จะมีลานเอนกประสงค์ชื่อลานกันเกรา  ซึ่งเป็นชื่อดอกไม้ประจำจังหวัดนครพนมค่ะ    เช้าๆแบบนี้จะเห็นผู้ที่รักสุขภาพมาออกกำลังกายกันพอสมควรเลยค่ะ


โบสถ์คริสต์ วัดนักบุญอันนา นครพนม

โบสถ์คริสต์ วัดนักบุญอันนา (หนองแสง) ค่ะ  เป็นสถานที่ที่งดงามอีกแห่งหนึ่งซึ่งมีเอกลักษณ์  วันนี้ถึงแม้จะเช้ามากแต่ภายในโบสถ์กำลังมีการประกอบพิธีกันอยู่ค่ะ   พวกเราจึงทำตัวสงบเสงี่ยมอยู่ภายนอกระยะไกลๆเท่านั้นค่ะ เพื่อเป็นการเคารพสถานที่ค่ะ  กลัวจะเป็นการรบกวน

 โบสถ์นักบุญอันนาหนองแสง สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ.1926 โดยคุณพ่อเอทัวร์ นำลาภ อธิการโบสถ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนานาชาติที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่สถาปัตยกรรมที่สวยแปลกตา


พระธาตุท่าอุเทน นครพนม

พระธาตุท่าอุเทน  ตั้งอยู่ที่บ้านท่าอุเทน   องค์พระธาตุก่ออิฐถือปูนเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สร้างเป็น 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นอุโมงค์บรรจุของมีค่าต่างๆ ชั้นที่2 สร้างครอบอุโมงค์ ชั้นที่3 คือเจดีย์องค์ใหญ่ สูงประมาณ 15 เมตร พระอาจารย์ศรีทัตถ์เป็นผู้สร้างเมื่อปี  พศ.2454  พระธาตุนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง บรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง  เป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ เชื่อกันว่าผู้ที่มานมัสการพระธาตุแห่งนี้ จะได้รับอานิสสงค์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์เสมือนพระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณ


ลานคนเมือง นครพนม

ลานคนเมือง ตลอดถนนสุนทรวิจิตร  เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม  จะเต็มไปด้วยบ้านเรือน ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ เป็นตึกสัญชาติต่างๆ สวยงามริมตลอดแนวโขงค่ะ  แต่พวกเราเองมีเวลาไม่มากนัก จึงแวะได้ไม่ครบทุกที่  ที่เห็นในภาพเป็นจวนผู้ว่าหลังเก่า  ซึ่งปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างจากฝรั่งเศสช่วงสมัยสงครามอินโดจีนและจัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดนครพนมไว้ค่ะ   มีลานคนเมือง ถนนคนเดินนครพนม ซึ่งมีทุกเย็นวันศุกร์ และไฮไลท์เป็นหอนาฬิกาเวียดนาม เป็นหอนาฬิกาที่ชาวเวียดนามสร้างไว้เป็นอนุสรณ์ยามย้ายกลับปิตุภูมิ ปี2503


แผนที่ท่องเที่ยวนครพนม


วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ภาพในหลวง ครั้งหนึ่งที่นครพนม

แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์
ครอบครัว "จันทนิตย์" ซึ่งอยู่บ้านเลขที่ ๒๒ หมู่ ๑๑ (บ้านศรีบุญเรือง บ้านธาตุน้อย) ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม ห่างจากจุดที่ทางราชการกำหนดให้เป็นจุด รับเสด็จ ประมาณ ๗๐๐ เมตร 


พระธาตุประจำวันเกิด


พระธาตุมรุกขนคร พระธาตุประจำวันเกิดวันพุธ (กลางคืน)
พระธาตุมรุกขนคร พระธาตุประจำวันเกิดวันพุธ (กลางคืน)
วัดมรุกขนครนี้เจริญรุ่งเรืองมากในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2320 ตัวเมืองถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพัง และเกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก จึงได้ย้ายไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
พระธาตุนคร พระธาตุประจำวันเกิดวันเสาร์
พระธาตุนคร พระธาตุประจำวันเกิดวันเสาร์
\\\\\\\\\\\\\\\"พระธาตุนคร\\\\\\\\\\\\\\\" ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ ถนนสุนทรวิจิตร อ.เมืองนครพนม พระธาตุมีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อสร้างเสร็จในวันเดือนเพ็ญของปีพ.ศ.2465 มีรูปแบบตามพระธาตุพนมองค์เดิม
พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุประจำวันเกิดวันศุกร์
พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุประจำวันเกิดวันศุกร์
\\\"พระธาตุท่าอุเทน\\\" พระธาตุประจำวันเกิดวันศุกร์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุอุเทน อ.ท่าอุเทน สร้างเมื่อปีพ.ศ.2455 เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยม จำลองมาจากพระธาตุพนม
พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุประจำวันเกิดวันพฤหัสบดี
พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุประจำวันเกิดวันพฤหัสบดี
\\\"พระธาตุประสิทธิ์\\\" พระธาตุประจำวันเกิดของคนวันพฤหัสบดี ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ อ.นาหว้า แต่เดิมเป็นเจดีย์โบราณ
พระธาตุมหาชัย พระธาตุประจำวันเกิดวันพุธ
พระธาตุมหาชัย พระธาตุประจำวันเกิดวันพุธ
วัดพระธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก เป็นสถานที่ประดิษฐาน \\\"พระธาตุมหาชัย\\\" พระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธ 
พระธาตุศรีคุณ พระธาตุประจำวันเกิดวันอังคาร
พระธาตุศรีคุณ พระธาตุประจำวันเกิดวันอังคาร
พระธาตุคู่บุญของคนเกิดวันอังคารคือ \\\"พระธาตุศรีคุณ\\\" ประดิษฐานอยู่ที่วัดธาตุศรีคุณ อ.นาแก พระธาตุองค์นี้ถูกค้นพบเมื่อประมาณปีพ.ศ.2340 และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปีพ.ศ.2486-2490
พระธาตุเรณู พระธาตุประจำวันเกิดวันจันทร์
พระธาตุเรณู พระธาตุประจำวันเกิดวันจันทร์
\\\"พระธาตุเรณู\\\" ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุเรณู อ.เรณูนคร สร้างเมื่อปีพ.ศ.2463 เป็นพระธาตุคู่เมืองของชาวเรณูนคร 
พระธาตุพนม พระธาตุประจำวันเกิดวันอาทิตย์
พระธาตุพนม พระธาตุประจำวันเกิดวันอาทิตย์
พระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีวอก อีกทั้งยังเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ด้วย เชื่อกันว่าผู้ที่ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์มีบุญบารมี และมีคนให้ความเคารพนับถือ

อำเภอในนครพนม


อำเภอเมืองนครพนม
คำขวัญอำเภอ พระติ้วพระเทียมคู่บ้าน หาดสำราญคู่เมือง ริมฝั่งโขงลือเลื่อง ฟูเฟื่องวัฒนธรรม นครถิ่นนี้คือ อำเภอเมืองนครพนม


อำเภอธาตุพนม
อำเภอพระธาตุพนมเดิมมีชื่อว่า ภูกำพร้า มีศิลปวัฒนธรรมของตนเองอาณาเขตติดต่อประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครพนม

อำเภอเรณูนคร
เรณูนครเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำผู้ไทย


อำเภอนาแก
อำเภอนาแกเดิมชื่อ “เมืองกบิล” ซึ่งถูกข้าศึกรุกรานและกวาดต้อนราษฎรจนหมดสิ้น กลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาถึงมีชนกลุ่มหนึ่ง อพยพมาจากประเทศลาว มีนายเพีย ตาดูด เป็นหัวหน้า

อำเภอปลาปาก
สถานที่ตั้งรกรากของปลาปาก นับว่าเป็นชนเผ่าที่น่าสนใจมิใช่น้อยเลยที่เดียว ความเป็นมาของบรรพบุรุษของชาวปลาปาก เดิมมีถิ่นที่อยู่ในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เมืองมหาชัย ในยุคสมัยเมืองพระยากู่แก้วเป็นเจ้าเมือง

อำเภอท่าอุเทน
ชาวเมืองท่าอุเทน เดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองหงสาวดี แขวงไชยบุรี ดินแดนลาว ในปัจจุบัน พ.ศ.2531 หัวหน้าชาวไทญ้อ ชื่อ ท้าวหม้อและภรรยาชื่อ นางสุนันทา ได้รวบรวม ผู้คนมาสร้างเมืองใหม่


อำเภอศรีสงคราม
อำเภอศรีสงคราม จ.นครพนม แยกการปกครองจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๘ ขณะนั้นใช้ชื่อ "กิ่งอำเภออากาศอำนวย"

อำเภอบ้านแพง
ตามประวัติเล่าว่าเมื่อประมาณ 200 ปีเศษ มีชนเผ่าย้อชื่อเฒ่าจอมและเฒ่างึ้มอพยพมาจากเมืองปุงลิง (เขตเมืองท่าแขก พระราชอาณาจักรลาว) ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน

อำเภอนาหว้า
อำเภอนาหว้าประกอบด้วยชนเผ่า 5 เผ่า ได้แก่ ผู้ไท แสก ญ้อ กะเลิง และไทยอิสาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป้นเผ่าญ้อที่อพยพมาจากตอนเหนือของเมืองหลวงพระบาง ส.ป.ป. ลาว เมื่อประมาณปี พ.ศ.2112


อำเภอโพนสวรรค์
เมื่อประมาณ 100 ปี มีชนกลุ่มหนึ่งเรียกตัวเองว่า "ชาวม้า" อพยพมาจาก อ.ท่าอุเทน มาทำมาหากินบริเวณลำนำอีเพิม เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "หมู่บ้านอีเพิม"

อำเภอนาทม
ตำบลนาทมตั้งขึ้นราวปี พ.ศ.2310 ครอบครัวที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกมี 3 - 4 ครอบครัว เท่าที่ทราบคือครอบครัวขุนศรี(ตะกูลศรีนาทม) และครอบครัวยายหืด (ตระกูลวงษาศรี)

อำเภอวังยาง
อำเภอวังยาง เดิมเป็นกิ่งอำเภอวังยาง โดยแยกเขตการปกครองออกจากอำเภอนาแก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 46ก 

ประวัติจังหวัดนครพนม
จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง อดีตเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง แรกทีเดียวตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ของลำน้ำโขง (ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับอำเภอพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามอุรังคนิทานหรือตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) ของพระธรรมราชานุวัตรอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้เรียบเรียงไว้ตอนหนึ่งว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่แคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีพุทธทำนายว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วเมืองศรีโคตรบูรณ์จักย้ายไปตั้งที่ “ป่าไม้รวก” มีนามว่า “เมืองมรุกขนคร” ซึ่งสันนิษฐานกันว่าหมายถึง เมืองที่อยู่ในดงไม้รวก ตามสภาพภูมิประเทศที่สร้างบ้านแปงเมืองนั้นเองประมาณ พ.ศ.500 สมัยพญาสุมิตรธรรม ผู้ครองเมืองมรุกขนคร เป็นกษัตริย์ผู้มีจิตศัรทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยก่อพระลานอูบมุง ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแพงล้อมรอบมีงานฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ซึ่งพระอุรังคธาตุได้แสดงปาฎิหารย์อัศจรรย์ยิ่ง ทำให้พญาสุมิตรธรรมบังเกิดความปิติโสมนัสมาก นอกจากถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังมอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง 7 แห่งในเขตแดนนั้น เป็นผู้ดูแลรักษาองค์พระธาตุ หลังจากพญาสุมิตรธรรม มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ ก็เกิดเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ จนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ.1800 เจ้าศรีโคตรบูรณ์ได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขกบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ใน พ.ศ. 2057 สมัยพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศราชธานีศรีโคตรบูรณ์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น เมืองศรีโคตรบรูณ์ ตรงตามชื่ออาณาจักรเดิม ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280 พระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น มีข้อสันนิษฐานประการหนึ่งว่า เมืองนครเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงได้ใช้ชื่อว่า นคร ส่วนคำว่า พนม ก็มาจากพระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ เดิมเมืองมรุกขนครตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อน จึงนำคำว่า พนม ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ นครพนม จึงหมายความถึง เมืองแห่งภูเขา นั้นเอง

นครพนม ที่เที่ยว นครพนมที่พักที่นอน รถเช่านครพนม ร้านอาหารนครพนม ร้านกาแฟนครพนม ของฝากนครพนม ลงโฆษณาในนครพนม

          นครพนม ที่เที่ยว นครพนมที่พักที่นอน    http://www.nakhonphanom.go.th/



Internet Hospot WiFi นครพนม

ครบเครื่อง เรื่องวายฟาย จำหน่ายโปรแกรมดูแลระบบ Hospot WiFi ระบบคอมพิวเตอร์สำนักงาน ให้คำปรึกษาการติดตั้งอุปกรณ์การส่งสัญญาณระยะไกล้ ไกล กระจายสัญญาณให้ครอบคุมพื้นที่ พร้อมจำหน่ายอุปกรณ์ Hotspot WIfi ในราคาพิเศษ สำหรับงานติดตั้งทั้งลูกค้าทั่วไปและผู้รับเหมา สนใจติดต่อ 083-0948416 ทีมงาน บลู วายฟาย พร้อมให้คำปรึกษาโดยทีมงานผู้มีประสบการณ์ฟรี


เว็บไซต์นครพนม

            บลู 083-0948416 หน้าค่ายพระยอดเมืองขวาง 4หมู่1 ต.กุรุคุ อ.เมือง จ.นครพนม 48000


รับทำเว็บไซต์ นครพนม เว็บไซต์องค์กร,หน่วยงานราชการ
รองรับการแสดงผลสมบูรณ์แบบ
สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ไม่จำกัด
รองรับโดเมน .com .net .org .info
.in.th .or.th .mi.th .go.th .ac.th
ระยะเวลาในการจัดทำ 1-4 สัปดาห์ โทร 083-0948416

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557


ขอเชิญเที่ยวงานประเพณีไหลเรือไฟ ประจำปี 2557 วันที่ 1-9 ตุลาคม 2557
มีพิธีเปิดวันที่ 4 ตุลาคม 2557 เวลา 18.00 น. 
ชมความงดงามอลังการ
8 ตค.57 เวลา 08.00 น. รำบูชาพระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม
8 ตค.57 เวลา 18.00 น. มหกรรมไหลเรือไฟ
29-9 ตค.57 นิทรรศการวิถีคนทำเรือไฟ
3,4,6,8 ตค.57 แสง สี เสียง กลางลำน้ำโขง
4-7 ตค.57 แข่งเรือพระราชทาน
และทุกวัน 1-9 ตค.57 พบนิทรรศการอาหารเวียดนาม / 
ศิลปวัฒนธรรม 3 ประเทศ ไทย ลาว เวียดนาม / เรือไฟโชว์ กระทงสาย